วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบของการออกแบบ


องค์ประกอบของการออกแบบ
การออกแบบกราฟิกเพื่อการสื่อความหมาย จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 9 ประการ คือ เส้น, รูปร่าง, รูปทรง, ขนาด, ทิศทาง, ที่ว่าง, ลักษณะผิว, ความเข้ม และสี ผู้ที่ทำการออกแบบจะต้องศึกษาองค์ประกอบ ในการออกแบบให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะนำมาใช้ในงานออกแบบต่างๆได้อย่างเหมาะสม และมีคุณค่าในทางศิลปะ
องค์ประกอบในการออกแบบ แบ่งเนื้อหาได้ดังนี้ :
2.1. เส้น : 2.2. รูปร่าง : 2.3. รูปทรง : 2.4. ขนาด : 2.5. ทิศทาง :
2.6. พื้นที่ว่าง : 2.7. ลักษณะพื้นผิว : 2.8. ค่าน้ำหนักสี : 2.9. สี : 2.10. สรุปเกี่ยวกับสี
2.1. เส้น (Line)
เส้นมีความยาว และมีมิติเดียว ในทางเรขาคณิต เส้น หมายถึงจุดที่มาเรียงกัน จนสามารถแสดงเป็นแนวตั้ง แนวนอน เป็นเส้นโค้ง เป็นเส้นหัก แสดงทิศทางทำให้เกิดรูปร่าง เส้นสามารถแสดงให้เห็นความเคลื่อนไหว แสดงความเร็วได้ เส้นในลักษณะต่างๆ เมื่อนำมาบรรจบกันก็จะทำให้เกิดรูปร่างขึ้น
เนื่องจากเส้นมีหลายลักษณะต่างกัน จึงมีความหมาย และคุณค่าไม่เหมือนกัน ซึ่งพอจะแยกลักษณะ และคุณค่าของเส้นแต่ละชนิดได้ดังนี้
เส้นตั้ง (Vertical Lines)
ให้ความรู้สึก สูง แข็งแรง มีระเบียง

แสดงลักษณะของเส้นต่างๆที่นำมารวมกัน
เส้นนอน (Horizontal Lines)
ให้ความรู้สึก สงบ ร่มเย็น ราบเรียบ
เส้นทแยง (Diagonal Lines)
ให้ความรู้สึก ความเคลื่อนไหว หรือการไม่อยู่นิ่ง
เส้นปะ
ให้ความรู้สึก ความไม่เป็นระเบียบ
เส้นโค้ง (Curved Lines)
ให้ความรู้สึก อ่อนช้อย นิ่มนวล
เส้นซิกแซก (Zigzag Lines)
ให้ความรู้สึก ตะกุกตะกัก ไม่เรียบร้อย
เส้นแรกจนถึงเส้นสุดท้ายจะเริ่มจากเส้นตรงไปสู่เส้นโค้ง เส้นที่ 1 กับ 2 หรือ 5 กับ 6 จะมีความใกล้เคียงกัน หรือกลมกลืนกัน (Harmony of Line) เป็นเส้นที่ 1 กับ 6 จะขัดแย้งกันตรงข้ามกัน (Contrast of Line)

กราฟฟิกและการออกแบบ


กราฟฟิกและการออกแบบ
      หลักการออกแบบหรือการจัดองค์ประกอบศิลปะ คือ การนำเอา เส้น รูปทรง ค่าของน้ำหนัก สี และพื้นผิว มาจัดวางลงในที่ว่าง ส่วนประกอบของการออกแบบได้มาปรากฏตัวอยู่ในที่ว่าง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นในเรื่องของการสร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ ขึ้นในที่ว่างของภาพ ซึ่งเรียกว่าองค์ประกอบทางรูปธรรม และยังมีองค์ประกอบทางนามธรรม ซึ่งหมายถึงเนื้อหาสาระอีกส่วนหนึ่งด้วย และในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการออกแบบ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะ
หลักการออกแบบประกอบด้วย :
3.1. จังหวะ : 3.2. การแปรเปลี่ยน : 3.3. ความกลมกลืน : 3.4. ความตัดกัน :
3.5. สัดส่วน : 3.6. ความสมดุล : 3.7. การเน้น : 3.8. เอกภาพ
3.1. จังหวะ (Rhythm)
    จังหวะเป็นหลักการหนึ่งของการออกแบบซึ่งมีพื้นฐานมาจากการซ้ำกัน (Repetition) จังหวะเป็นการนำเอาส่วนประกอบของการออกแบบรวมเข้าไว้ด้วยกัน

นพวรรณ (2540: 173-178) ได้แบ่งจังหวะออกเป็น 3 ชนิดคือ
3.1.1. จังหวะที่ซ้ำกัน : 3.1.2. จังหวะที่สลับกัน : 3.1.3. จังหวะที่ต่อเนื่องกัน

3.1.1. จังหวะที่ซ้ำกัน (Repetition Rhythm)
    คือ วิธีการเน้นอย่างหนึ่งที่ต้องการให้เห็นชัดเจน โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง มาจัดวางลงในกรอบพื้นที่มากกว่าหนึ่งครั้ง โดยมีระยะเคียงเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ การสร้างภาพให้ดูกลมกลืน และเป็นจังหวะ ถ้าหน่วยของรูปทรงมีขนาดใหญ่ และใช้จำนวนน้อย งานออกแบบจะดูง่าย ท้าทาย แต่ถ้าใช้รูปทรงเล็กจำนวนมาก จะให้ความรู้สึกเป็นผิวสัมผัส
เลอสม (2537: 89-91) ได้กล่าวถึงการสร้างภาพด้วยวิธีการทำซ้ำได้หลายวิธีดังนี้
การซ้ำด้วยรูปร่าง (Shape) รูปร่างเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์ประกอบ ถ้ารูปร่างซ้ำกัน ยังคงสร้างความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบ ได้ด้วย ขนาด สี และผิวสัมผัส
แสดงการซ้ำด้วยรูปร่าง
การซ้ำด้วยขนาด (Size) การสร้าง รูปทรงให้มีขนาดเท่าๆกัน มักจะเป็นไปได้ที่รูปทรงนั้นมีรูปร่างซ้ำหรือรูป ร่างคล้ายคลึงกัน
แสดงการซ้ำด้วยขนาด
การซ้ำด้วยสี (Color) รูปทรงทุกรูปมีสีเหมือนกัน แต่จะแตกต่างในเรื่องของรูปร่าง และขนาด
แสดงการซ้ำด้วยสี
การซ้ำด้วยผิวสัมผัส (Texture) มีผิวสัมผัสเหมือนกัน แต่อาจจะมีรูปร่าง ขนาด และสีแตกต่างกัน
แสดงการซ้ำด้วยผิวสัมผัส
การซ้ำด้วยทิศทาง (Direction) การสร้างภาพให้มีทิศทางซ้ำกันนั้น จะทำได้ต่อเมื่อรูปทรงแต่ละรูปแสดงให้เห็น และรู้สึกถึงทิศทางของรูปทรงชัดเจน
แสดงการซ้ำด้วยทิศทาง
การซ้ำด้วยตำแหน่ง (Position) การจัดรูปทรงให้มีตำแหน่งซ้ำนั้น จะต้องสัมพันธ์กับโครงสร้างของภาพ รูปทรงแต่ละรูปอาจจะเว้นระยะห่างเท่า ๆ กันทุกทิศทางจากกรอบย่อยของโครงสร้าง
แสดงการซ้ำด้วยตำแหน่ง
การซ้ำด้วยที่ว่าง (Space) รูปทรงทุกรูปจะครอบคลุมที่ว่าง เช่นเดียวกันทั้งหมด (Positive Form) หรือพื้นภาพโดยรอบรูปทรงนั้นจะถูกครอบคลุม โดยเว้นพื้นที่ว่างเป็นรูปทรงไว้ (Negative Form)
แสดงการซ้ำด้วยที่ว่าง
การซ้ำด้วยแรงดึงดูด (Gravity) การซ้ำวิธีนี้ค่อนข้างยากที่จะแสดงได้ว่า รูปทรงต่างๆ มีแรงดึงดูดในภาพเท่ากันให้ ความรู้สึก หนักหรือเบา มั่นคงหรือไม่มั่นคงเท่ากัน ยกเว้น การจัดวางองค์ประกอบอยู่ ในลักษณะซ้ำที่ไม่มีการแปรเปลี่ยน
แสดงการซ้ำด้วยแรงดึงดูด
3.1.2. จังหวะที่สลับกัน (Alternation Rhythm)
     คือจังหวะของสองสิ่ง หรือมากกว่าซึ่งสลับกันไปมาเป็นช่วงๆ เป็นลักษณะที่ทำให้ไม่เห็นการซ้ำเด่นชัดมากเกินไป ทำให้มีลักษณะแปลกออกไปอีกแบบหนึ่ง เช่น 1,1,2,2,1,1,..........etc ดังภาพตัวอย่าง
ภาพแสดงจังหวะที่สลับกัน 1,1,2,2,1,1
3.1.3. จังหวะที่ต่อเนื่องกัน (Continuous Rhythm)
     คือการจัดช่วงจังหวะให้มีความต่อเนื่องกัน จังหวะแบบนี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปเรื่อยๆ โดยมีสี ค่าน้ำหนักของสี หรือพื้นผิวเป็นตัวแปร ดังภาพตัวอย่างดังนี้
ภาพแสดงจังหวะที่ต่อเนื่องกันทำให้เกิดระยะใกล้ไกลขึ้น ภาพแสดงจังหวะที่ต่อเนื่องกันโดยที่แผ่น CD ค่อยๆขยายจากเล็กมาใหญ่

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

การบวก

การบวก

         การบวก คือกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยการรวมสิ่งของเข้าด้วยกัน เครื่องหมายบวก (+) ถูกใช้แทนความหมายของการบวกจำนวนหลายจำนวน จากตัวอย่างภาพทางขวา แอปเปิล 3 + 2 ผล หมายความว่ามีแอปเปิล 3 ผลกลุ่มหนึ่ง และมีแอปเปิล 2 ผลอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่ง 3 + 2 = 5 ดังนั้นจึงเหมือนกับว่ามีแอปเปิล 5 ผล นอกจากการนับจำนวนแล้ว การบวกสามารถนำเสนอได้โดยการรวมกลุ่มปริมาณทางรูปธรรมหรือนามธรรมอื่นๆ โดยใช้ประเภทที่แตกต่างกันของจำนวน เช่น จำนวนลบ เศษส่วน จำนวนตรรกยะ เวกเตอร์ ฯลฯ
ในฐานะของการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ การบวกดำเนินตามแบบแผนที่สำคัญบางประการ เช่นการบวกมีสมบัติการสลับที่ หมายความว่าลำดับของการบวกนั้นไม่สำคัญ และการบวกมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่ นั่นคือเราสามารถบวกกันได้มากกว่าสองจำนวน (ดูเพิ่มที่ ผลรวม) การบวกซ้ำๆ ด้วย 1 มีความหมายเหมือนการนับ ในขณะที่การบวกด้วย 0 จะไม่ทำให้จำนวนเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้การบวกยังคล้อยตามกฎเกณฑ์ที่ทำนายได้ เกี่ยวกับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องเช่นการลบและการคูณ กฎเกณฑ์ทั้งหมดเหล่านี้สามารถพิสูจน์ได้ โดยเริ่มต้นจากการบวกของจำนวนธรรมชาติ แล้วขยายขอบเขตออกไปยังจำนวนจริงและสูงขึ้นไป การดำเนินการทวิภาคทั่วไปที่คล้อยตามแบบแผนเหล่านี้ มีการศึกษาในพีชคณิตนามธรรม
การบวกเป็นหนึ่งในงานที่พื้นฐานที่สุดที่เกี่ยวข้องกับจำนวนตัวเลข การบวกของจำนวนน้อยๆ สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก เด็กทารกอายุห้าเดือนรวมทั้งสัตว์บางชนิดก็สามารถรับรู้ว่า 1 + 1 จะได้ผลอะไร ในการเรียนระดับประถมศึกษา เด็กนักเรียนจะได้เรียนรู้การบวกจำนวนในระบบเลขฐานสิบ โดยเริ่มต้นจากจำนวนเลขหลักเดียว และพัฒนาการแก้ปัญหาในระดับที่ยากขึ้น เครื่องกลที่ช่วยคำนวณการบวกก็แตกต่างกันไปตั้งแต่ลูกคิดโบราณจนไปถึงคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ซึ่งการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการบวกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดยังคงดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้